การประชุมออนไลน์ครั้งที่ 10 ของการประชุมเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 10 เรื่อง นวัตกรรมและบรรทัดฐานที่เปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสุขภาพและสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ ในเอเชียและแปซิฟิก

การประชุมออนไลน์ครั้งที่ 10 ของการประชุมเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 10 เรื่อง นวัตกรรมและบรรทัดฐานที่เปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสุขภาพและสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ ในเอเชียและแปซิฟิก

Beth Schlachter กรรมการบริหารของ Family Planning 2020 ได้นำเสนอ เกี่ยวกับ Family Planning 2020 หรือ FP2020 นั้นเป็นความร่วมมือในระดับโลก โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้หญิงและเด็กหญิงอีก 120 ล้านคน สามารถเข้าถึงและใช้ยาคุมกำเนิดได้ ภายในปีพ.ศ. 2563 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคต คือ ผู้หญิงและวัยรุ่นหญิงทุกคนนั้น มีอิสระ และความสามารถในการตัดสินใจของตนเองเกี่ยวกับการใช้การคุมกำเนิดสมัยใหม่ ความต้องการที่จะมีลูกหรือไม่มี การมีสุขภาพที่ดี และการมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกันในสังคมและการพัฒนา
 
FP2020 นั้นเริ่มขึ้นปี พ.ศ. 2555 โดยมี 6 ประเทศ จากภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ ประเทศบังคลาเทศ อินเดีย ปากีสถาน หมู่เกาะโซโลมอน ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ซึ่งปัจจุบันนี้มีสมาชิกจากภูมิภาคเอเชีย 13 ประเทศ ในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 ถึงกรกฎาคม พ.ศ. 2562 มีการใช้ยาคุมกำเนิดสมัยใหม่ ทำให้เกิดการป้องกันการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ 119 ล้านครั้ง การยกเลิกการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย 21 ล้านครั้ง และการเสียชีวิตของมารดา 134,000 ราย ซึ่งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 เองนั้น มีผู้หญิงและเด็กหญิง 314 ล้านคน ใช้วิธีการคุมกำเนิดที่ทันสมัยถึง 69 ประเทศใน FP2020 และผู้หญิง 53 ล้านคน ใช้การคุมกำเนิดสมัยใหม่เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2555

ผลลัพธ์ระดับวิสัยทัศน์

การใช้ยาคุมกำเนิดสมัยใหม่โดยการสมัครใจสำหรับทุกคนที่ต้องการ โดยผ่านทางเลือกและหน่วยงานที่มีข้อมูลของ แต่ละบุคคล ระบบที่ตอบสนองและยั่งยืน การคุมกำเนิดที่หลากหลาย และสภาพแวดล้อมของนโยบายที่สนับสนุน

โดยผลลัพธ์นี้ ได้เน้นถึงความก้าวหน้าไปสู่วิสัยทัศน์ที่จะถูกตรวจสอบ ผ่านกรอบการวัดผลของ FP2030 ได้แก่
  • แต่ละบุคคลมีข้อมูลที่เกี่ยวกับวิธีการและผลข้างเคียง สำหรับทางเลือกในการคุมกำเนิดที่หลากหลาย และความสามารถในการใช้สิทธิของตน เพื่อพิจารณาว่าพวกเขาอยากมีลูกเมื่อไหร่ และกี่คน
  • ระบบสุขภาพที่ตอบสนองอย่างเท่าเทียมและยั่งยืน สำหรับการให้บริการ และอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูง สำหรับวิธีการคุมกำเนิดที่หลากหลาย
  • ประเทศสมาชิกมีนโยบายสนับสนุนการจัดหาเงินทุน และสภาพแวดล้อมในการให้บริการสำหรับการคุมกำเนิดโดยสมัครใจ

ประเด็นที่มุ่งเน้น ได้แก่
  • บรรทัดฐาน ทางสังคม วัฒนธรรม และเพศอย่างมีนัยสำคัญ และส่งผลโดยตรงต่อความสามารถของผู้หญิงและวัยรุ่นหญิงในการควบคุม เรื่องที่เกี่ยวข้องกับอนามัยเจริญพันธุ์ของพวกเธอ การปรับใช้พฤติกรรมอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ดี รวมถึงการใช้การคุมกำเนิดสมัยใหม่โดยการสมัครใจ ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของพวกเธอ รวมถึงของครอบครัว ชุมชน และประเทศ
  • นอกเหนือจากการจัดการกับอุปสรรคสำหรับผู้หญิงและเด็กหญิง ในการเข้าถึงยาคุมกำเนิดสมัยใหม่อย่างครบวงจรแล้วโครงการต่าง ๆ ต้องให้การสนับสนุนในการจัดการกับบรรทัดฐานและแนวปฏิบัติที่เป็นอันตราย เช่น การแต่งงานก่อนวัยอันควร และความรุนแรงทางเพศ ตลอดจนบรรทัดฐานเชิงบวก เช่น การให้เด็กหญิงได้เรียนหนังสือ การให้ผู้ชายและเด็กชายในฐานะคู่ครองมีส่วนร่วมในการใช้ยาคุมกำเนิด และส่งเสริมให้มีช่วงเวลาและระยะห่างของการตั้งครรภ์
  • ความร่วมมือของ FP2020 จะเน้นย้ำถึงความพยายามในการส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกมากขึ้น

Elisa Oreglia, Lecturer และ Camille Tijamo (คามีลี ทีชามู) ได้นำเสนองานวิจัย เรื่องการใช้สมาร์ทโฟนและ อนามัยการเจริญพันธุ์ในประเทศกัมพูชา: การศึกษาเชิงคุณภาพ และการวิจัยพหุวิทยาการ

การวิจัยนี้ ได้ทำการศึกษาที่เมืองพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เชิงสำรวจ ระหว่าง พ.ศ. 2561 – 2562 เพื่อทำการตรวจสอบ
  • วิธีการใช้สมาร์ทโฟน และวิธีการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการคุมกำเนิด และการทำแท้งด้วยยาทางออนไลน์และออฟไลน์ของคนงานหญิงในโรงงานที่ประเทศกัมพูชา
  • ข้อมูลในรูปแบบที่มีอยู่ในทางออนไลน์และวิธีค้นหา

วิธีการวิจัย ได้แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ

ในระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเชิงกว้างกับคนงานในโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า การสังเกตโดยตนเองและทางออนไลน์ รวมถึงการสนทนาแบบไม่เป็นทางการ การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์มือถือและสุขภาพโดยทั่วไป

ในระยะที่ 2 มุ่งเน้นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีการสัมภาษณ์ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพเอกชน และผู้รับการบริการทำแท้งด้วยยา จากนั้นจึงทำการค้นหาทางออนไลน์ เพื่อค้นหาข้อมูลด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ รวมถึงการทำแท้งด้วยยาบนยูทูปและเฟสบุ๊ค ซึ่งเป็นโซเชียลมีเดียที่ประชากรกลุ่มนี้ใช้กันมากที่สุด

จากการสำรวจพบว่าในปีพ.ศ. 2562 ประชากรทั่วโลกมีจำนวน 7.676 พันล้านคน
  • มี 67% ใช้โทรศัพท์มือถือไม่ซ้ำหรือเปลี่ยนมือถือบ่อย
  • 57% เป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
  • 45% เป็นผู้ใช้โซเชียลมีเดีย
  • 42% เป็นผู้ใช้โซเชียลมีเดียบนมือถือ
สำหรับในประเทศกัมพูชามีประชากรทั้งหมด 16.36 ล้านคน
  • มีผู้สมัครใช้มือถือ 25.04 ล้านคน หรือ 153%
  • ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 12.5 ล้านคน หรือ 76%
  • ผู้ใช้โซเชียลมีเดีย 8.4 ล้านคน หรือ 51%
  • ผู้ใช้โซเชียลมีเดีย บนมือถือ 8.1 ล้านคน หรือ 49%
โดยการศึกษาพบว่า มีการใช้สมาร์ทโฟนอย่างแพร่หลาย แต่กลับไม่น่าเชื่อถือในหมู่คนงานในโรงงาน เนื่องจาก
  • ในการตั้งค่าบัญชีและดาวน์โหลดต่าง ๆ นั้น ต้องขึ้นอยู่กับบุคคลอื่น เช่น ครอบครัว เพื่อน หรือผู้ให้บริการโทรศัพท์เป็นคนทำให้
  • โดยเฟสบุ๊คและยูทูปเป็นแอพพิเคชั่นที่มีคนใช้มากที่สุด แต่การค้นหาโดยใช้กูเกิล นั้นแทบ ไม่เป็นที่ รู้จักเลย
  • คนงานในโรงงาน ชอบดูวิดีโอ และมีการสื่อสารแบบไม่ใช้ข้อความ แต่มีการโต้ตอบกันในโซเชียลมีเดีย เช่น

กดไลท์ แชร์ หรือส่งอีโมจิ
  • คนงานในโรงงานผลิตเสื้อผ้าไม่ทราบถึงวิธีค้นหาวิดีโอหรือเพลงในยูทูปและเฟสบุ๊คผ่านสมาร์ทโฟน แต่พวกเขา ใช้เฟสบุ๊คเพื่อความบันเทิง ซึ่งถ้าหากพวกเขาต้องการทราบเกี่ยวกับการคุมกำเนิดหรือการวางแผนครอบครัว พวกเขาเลือกที่จะถามเพื่อนของพวกเขาแทนการไปที่คลินิก หรือหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต
  • นักวิจัยได้ทำการค้นหา โดยใช้คำค้นเป็นภาษาเขมร และคำถามที่เกี่ยวข้องกับการคุมกำเนิด และการทำแท้งด้วยยาจากเฟสบุ๊คและยูทูป แต่กลับไม่พบว่ามีวิดีโอใดที่มาจากองค์กรพัฒนาเอกชนหรือรัฐบาล แต่ถ้าค้นหาด้วยการใช้ ภาษาอังกฤษ จะพบว่ามีวีดีโอดังกล่าวสำหรับคนที่เข้าใจภาษาอังกฤษ ซึ่งวิดีโอส่วนใหญ่นั้นอัปโหลดโดยคลินิกสุขภาพเอกชนและสื่อต่าง ๆ ซึ่งการผลิตไม่ค่อยมีคุณภาพเท่าไร แต่ง่ายในการติดตามและปฏิบัติตามคำแนะนำ รวมถึงผู้ผลิตเนื้อหาเหล่านี้มักจะตอบคำถามในข้อความคิดเห็น

ผลกระทบ:

สำหรับผู้ให้บริการด้านสุขภาพนั้น ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือความเป็นส่วนตัวและผู้คนจำเป็นต้องรู้สึกว่าพวกเขากำลังมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ และต้องมีหลายช่องสัญญาณที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

- ในเว็บไซด์ / คำอธิบายในวิดีโอ / การโพสต์ในเฟสบุ๊ค / คำสำคัญและคำค้นหาต่าง ๆ นั้น ควรให้มีภาษาที่หลากหลายในการค้นหา เช่น ศัพท์ทางการแพทย์ คำที่เป็นคำนิยม และคำแสลง เพื่อทำให้สามารถค้นหาเนื้อหาได้ง่ายขึ้น

- วิดีโอการเรียนการสอนนั้น ควรมีภาษาท้องถิ่นที่มีเนื้อหาที่ถูกต้อง เพื่อให้สามารถเข้าถึงง่าย และนำไปปฏิบัติได้ รวมถึงควรปรับให้เหมาะสม สำหรับยูทูปและเฟสบุ๊ค และง่ายสำหรับการค้นหา

ข้อมูลออนไลน์ของสื่อกัมพูชา:

- เฟสบุ๊คมี ผู้ติดตาม 87,000 คน โดย 52% ของผู้ติดตามเป็นวัยรุ่น ซึ่งได้รับ 300 ข้อความต่อเดือน โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการทำแท้งอย่างปลอดภัย การคุมกำเนิด สุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ และการตีตรา

- โทรศัพท์สายด่วนได้รับโทรศัพท์ 1,200 สายต่อเดือน มีการส่งต่อ 300 คนต่อเดือน ซึ่ง 23% ของผู้โทรเป็นวัยรุ่น มีการทำการนัดหมายให้ และการให้คำปรึกษาที่เป็นมิตรทางโทรศัพท์ อีเมล และข้อความ

- วิดีโอแนะนำวิธีการทำแท้งด้วยยา มีผู้เข้าชม 59,000 ครั้ง โดยมี 25,000 (สองหมื่นห้าพัน) ครั้ง ภายใน 2 อาทิตย์ มีคน 2,000 คนใน เฟสบุ๊ค เข้าร่วม และมีผู้เข้าชมยูทูป 4,300 ครั้ง ซึ่ง 82% มาจากการค้นหาคำว่า การทำแท้ง

การสื่อสารหลายช่องทางนั้น ทำให้คนมีโอกาสในการเข้าถึงได้ง่ายและมากขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ยังมีความท้าทายที่ซับซ้อน อันได้แก่

- ผู้หญิงที่มีโทรศัพท์เป็นของตัวเองนั้น สามารถกำหนดค่าความเป็นส่วนตัวของการโต้ตอบที่ ส่งผ่านทางเฟสบุ๊ค เมสเซนเจอร์ และไลน์ได้ แต่สำหรับผู้หญิงในชนบทที่ไม่มีโทรศัพท์เป็นของตัวเอง ทำให้พวกเธอ ต้องใช้ของสามี ที่อาจจะเปลี่ยนเบอร์โทร และโปรไฟล์เฟสบุ๊คอยู่บ่อย ๆ

- งานออนไลน์ในการให้ข้อมูลจะไม่มีค่า หากไม่มีการส่งต่อ ซึ่งจะกลายเป็นการทำงานที่สูญเปล่า ในด้านงบประมาณ และส่งผลต่อความไม่ยั่งยืนในระยะยาว

- ความรู้เพียงเล็กน้อยของผู้ใช้งานในการสื่อสารที่ต้องแยกระหว่างความเป็นสาธารณะหรือความเป็นส่วนตัว

- มีข้อมูลเล็กน้อยของผู้ใช้งาน และผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ นอกจากข้อมูลเหล่านี้ จะอ้างอิงทำให้ผู้ใช้งาน กลายเป็นผู้รับบริการได้

- คำตอบซ้ำ ๆ หลายครั้ง สำหรับคำถามทั่วไปที่ได้ตอบไปแล้ว แต่อย่างไรก็ตามควรมีการปรับเปลี่ยนคำตอบในแบบของแต่ละคนจะเป็นกุญแจสำคัญในการเข้าถึงผู้ใช้ได้

วารุณี ขัติเตมี
รายงาน 

Warunee Kuthithamee วารุณี ขัติเตมี รายงาน
1 November 2020