การประชุมออนไลน์ครั้งที่ 5 ของการประชุมเอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 10 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กับสุขภาพและสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก



การประชุมออนไลน์ครั้งที่ 5 ของการประชุม เอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 10 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กับสุขภาพและสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
Dr Adrian Hayes รองศาสตราจารย์ กิตติมศักดิ์ของ School of Demography ที่ Australian National University ได้นำเสนอในหัวข้อ “การปรับปรุงเรื่อง สุขภาพและสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ”

ปัจจุบันนี้ทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างหนัก ในด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทำให้เราต้องมีการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน โดยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals ที่มีอยู่จำนวนทั้งหมด 17 ข้อ ซึ่งเป้าหมายในข้อที่ 13 ได้กล่าวถึง เรื่องการปฏิบัติการเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ ซึ่งต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงและผลกระกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ซึ่งวิธีการดำเนินการในข้อ 2 ของเป้าหมายข้อนี้ คือ ส่งเสริมกลไกที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการวางแผน และการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิผลในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด และให้ความสำคัญต่อผู้หญิง เยาวชน และชุมชนท้องถิ่นและชายขอบ ดังนั้นถ้าเราต้องการให้ บรรลุเป้าหมายในการพัฒนาที่ยั่งยืน พ.ศ. 2573 ได้ เราต้องแก้ไขวิกฤตที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศนั้น พร้อมทั้งควรมีการปรับปรุง ด้านสุขภาพและสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ในระหว่างการกำหนดระเบียบวาระการพัฒนาของปี พ.ศ. 2573 นั้น ได้ประสบความสำเร็จในการกำหนด เรื่องสุขภาพและสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ ให้เป็นหนึ่งในเป้าหมายที่ระบุไว้ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สองเป้าหมาย คือ

1. เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อที่ 3 เรื่อง สุขภาพดี และความเป็นอยู่ที่ดี โดยทำให้แน่ใจถึงการมีสุขภาวะในการดำรงชีพ และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีในทุกช่วงอายุ โดยข้อ 3.7 ได้ระบุว่า สร้างหลักประกันว่ามีการเข้าถึงบริการข้อมูลการให้การศึกษาเกี่ยวกับอนามัยเจริญพันธุ์โดยถ้วนหน้า รวมถึงการวางแผนครอบครัว และการผสานอนามัยเจริญพันธุ์ในยุทธศาสตร์ และแผนงานระดับชาติ ภายในปี พ.ศ. 2573

2. เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อที่ 5 เรื่องความเท่าเทียมทางเพศ โดยให้บรรลุถึงความเท่าเทียมกันทางเพศและส่งเสริมพลังของสตรีและเด็กหญิงทุกคน โดยข้อ 5.6 ได้ระบุว่า สร้างหลักประกันว่าจะมีการเข้าถึงสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ และสิทธิการเจริญพันธุ์โดยถ้วนหน้า ตามที่ตกลงในแผนปฏิบัติการของการประชุมนานาชาติว่าด้วยประชากรและการพัฒนา และแผนปฏิบัติการปักกิ่ง และเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมทบทวนเหล่านั้น

โดยเป้าหมายที่ 1 ภายใต้เป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อที่ 3 คือการลดอัตราส่วน การตายของมารดาทั่วโลก ให้น้อยกว่า 70% ต่อการเกิด 100,000 ครั้งภายในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งตัวชี้วัดในเรื่องสุขภาพ และสิทธิทางเพศ และอนามัยเจริญพันธุ์ของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ คือ

(i) การไม่วางแผนครอบครัว

(ii) อัตราส่วนการตายของมารดา

เนื่องจากการวางแผนครอบครัวนั้น สามารถลดการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ การทำแท้ง รวมถึงการลดการเสียชีวิตของมารดาได้ ซึ่งเป้าหมายทั่วโลก คือ การเข้าถึงการบริการวางแผนครอบครัวระดับสากล และให้การไม่วางแผนครอบครัวนั้น ควรลดลงเป็น 0 ภายในปี พ.ศ. 2573 แต่ถ้าต้องการให้ใกล้เคียง กับความเป็นจริงในการที่ จะบรรลุเป้าหมาย ควรลดให้เหลือเพียง 10% แทนที่จะเป็น 0 ภายในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งการประมาณการนี้ได้แสดงให้เห็นว่า บางประเทศในภูมิภาคนี้ได้บรรลุเป้าหมายแล้ว ได้แก่ ประเทศจีน ฮ่องกง อิหร่าน นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ศรีลังกา ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม แต่ก็ยังมีอีกหลายประเทศที่ยังคงต้องไปให้ถึงเป้าหมาย

แนวโน้มในปัจจุบันนี้ 6 ประเทศในเอเชียใต้ ได้แก่ ประเทศอัฟกานิสถาน ปากีสถาน เนปาล อินเดีย มัลดีฟส์ และบังกลาเทศนั้น ต้องมีการจัดการเรื่องวางแผนครอบครัว มีแต่เพียงประเทศบังกลาเทศเท่านั้นที่คาดว่าจะถึงเกณฑ์ 10% ภายในปี พ.ศ. 2573

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีประเทศที่เข้าเกณฑ์ 10% ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ เวียดนาม และไทย แต่ในประเทศกัมพูชา มีการลดลงอย่างมากในช่วงศตวรรษปัจจุบัน ส่วนประเทศที่ไม่ถึงเกณฑ์ 10% ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และพม่า แต่ประเทศอินเดียกลับค่อนข้างโดดเด่น

ในเอเชียตะวันออกนั้นมีประเทศที่เข้าเกณฑ์ ได้แก่ ประเทศจีน ไต้หวัน ฮ่องกง เกาหลีใต้ ในหมู่เกาะแปซิฟิกมีประเทศที่ไม่เข้าเกณ์อยู่ที่ 20% หรือสูงกว่าในปี พ.ศ. 2563 และส่วนประเทศซามัว นั้นไม่เข้าเกณฑ์เกือบถึง 40%

ดังนั้นสำหรับบางประเทศ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการเข้าถึงบริการ การวางแผนครอบครัวระดับสากลแล้ว แต่ยังมีบางประเทศที่จำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงและพัฒนา เพื่อให้เข้าถึงระดับสากลได้ภายในปี พ.ศ. 2573

แต่ประเทศกลุ่มที่ 3 ในเอเชียใต้ และหมู่เกาะแปซิฟิกนั้น ควรต้องมีการปฏิรูปครั้งใหญ่ ทั้งในระดับนโยบายและโครงการต่าง ๆ ที่ต้องพยายามอย่างมาก เพื่อให้ผู้หญิงเข้าถึงบริการการวางแผนครอบครัวได้อย่างทั่วถึง ซึ่งจากที่กล่าวมาแล้วว่า ตัวชี้วัดตัวที่สอง คือ อัตราส่วนการตายของมารดา โดยมีเป้าหมายในการลดอัตราส่วนการตายของมารดา ทั่วโลกให้เหลือน้อยกว่า 70% ต่อ 100,000 ครั้งของการเกิด ภายในปีพ.ศ. 2573

ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และนิวซีแลนด์ มีอัตราส่วนการตายของมารดาต่ำสุด 15% หรือน้อยกว่า ส่วนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ประเทศไทย มาเลเซีย และเวียดนาม มีอัตราส่วนการตายของมารดาต่ำกว่า 70% ในเอเชียตะวันออก ได้แก่ ประเทศจีนและมองโกเลีย อัตราส่วนการตายของมารดา ต่ำกว่า 70% ในมหาสมุทรแปซิฟิก ได้แก่ ประเทศฟิจิมี 34% ส่วนประเทศซามัวต่ำกว่า 70%

แต่บางประเทศ ในเอเชียใต้มี อัตราส่วนการตาย ของมารดาสูงมาก ได้แก่ ประเทศเนปาล 186% บังกลาเทศ 173% อินเดีย 145% ปากีสถาน 140%

ตัวชี้วัดทั้งสองนี้ มีจุดประสงค์ในการวัดสถานะทั่วไป ในด้านสุขภาพและสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ ของวัฒนธรรมต่าง ๆ ในภูมิภาค ซึ่งเป็นงานที่มีความท้าทายของแต่ละประเทศ โดยควรมีโยบายใหม่ โปรแกรมใหม่ ผู้ให้การบริการที่มีมากขึ้น การพัฒนาในด้าน การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และมีการส่งมอบบริการที่ดีขึ้น”

กิจกรรมเหล่านี้ ต้องการ การปรับปรุง รวมถึงกิจกรรมในส่วนอื่น ๆ ด้วย เช่น การลดความยากจน การมีโภชนาการที่ดีขึ้น การขยายและปรับปรุงการศึกษาสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ การปรับปรุงการบริการด้านน้ำสะอาดและสุขาภิบาล การมีพลังงานสะอาดใช้ ส่วนการปรับปรุงเรื่องสุขภาพและสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์นั้น ควรพัฒนาโดยให้แยกออกจากการพัฒนาด้านอื่น ๆ เนื่องจากการพัฒนาทั้งหมดนี้ เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นที่ต้องทำ

เรื่องสุขภาพ และสิทธิทางเพศ และอนามัยเจริญพันธุ์ อาจดูเหมือนมีบทบาท เพียงเล็กน้อย ในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน แต่การปรับปรุง ด้านสุขภาพ และสิทธิทางเพศ และอนามัยเจริญพันธุ์ ก็เป็นสิ่งสำคัญใน วาระการพัฒนาที่ยั่งยืนปี พ.ศ. 2573

วารุณี ขัติเตมี
รายงาน 
25 August 2020